จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การคิด ช่วยคุณได้ ^___________^





          ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ "ความรู้ คือ อำนาจ" อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้เกิดอำนาจได้นั้น จำเป็นต้องมีความสามารถ ในการใช้ปรับข้อมูลข่าวสาร ให้อยู่ในรูปขององค์ความรู้ และนำมาใช้ประกอบการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผู้ที่จะสามารถเป็นเช่นนั้นได้ จะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่งในชีวิตนั่นคือ "คิดเป็น"


แผนภูมิ    แสดงกระบวนการ  "คิดเป็น"

การคิด (Thinking) คือ การที่คนคนหนึ่งพยายามใช้พลังทางสมองของตน ในการนำเอาข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ มาจัดวางอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้มา ซึ่งผลลัพธ์ เช่น การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด เป็นต้น

          การคิด เหมือนการเรียงหินที่กระจัดกระจาย ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยนำหินแต่ละก้อน มาประกอบกันในแต่ละที่ อย่างเหมาะสม "การเรียงหิน" เปรียบได้กับ "การจัดระเบียบข้อมูล" ที่เราได้ใช้การคิดไตร่ตรองอย่าง ละเอียดรอบคอบ ลึกซึ้ง และมีระบบระเบียบ คนที่ "คิดเป็น" จะสามารถจัดข้อมูลให้เรียงกัน อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ได้ความคิดที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับหิน ที่ได้รับการจัดวางเรียงอย่างเหมาะสม ย่อมกลายเป็นอาคารที่งดงามได้ในที่สุด ในขณะเดียวกัน คนที่ "คิดไม่เป็น" ก็เหมือนกันคนที่โยนก้อนหินมากองๆ รวมกัน หรือจัดอย่างสะเปะสะปะ ไม่รู้ว่า ก้อนใดควรอยู่ที่ใด ความคิดที่ออกมา จึงไม่ได้เป็นความคิดที่มีความชัดเจน และเป็นระบบระเบียบ

        การที่คนเราจะสามารถคิดเป็นนั้น จำเป็นต้องได้รับการเปิดทาง และแนะแนวให้มีความสามารถในการคิด ครบ 10 มิติ นั่นคือ


  • ประการแรก การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking) หมายถึง ความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆ แต่ตั้งคำถามท้าทาย หรือโต้แย้งสมมติฐาน และข้อสมมติที่อยู่เบื้องหลัง และพยายามเปิดแนวทางความคิด ออกลู่ทางต่างๆ ที่แตกต่างจากข้อเสนอนั้น เพื่อให้สามารถได้คำตอบที่สมเหตุสมผล มากกว่าข้อเสนอเดิม



  • ประการที่สอง การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) หมายถึง การจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น



  • ประการที่สาม การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) หมายถึง ความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

  • ประการที่สี่ การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) หมายถึง การพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และ/หรือ ความแตกต่าง ระหว่างสิ่งนั้น กับสิ่งอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการคิด การแก้ปัญหา หรือการหาทางเลือดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง



  • ประการที่ห้า การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) หมายถึง ความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมด ที่มีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด ได้อย่างไม่ขัดแย้ง แล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอด หรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น



  • ประการที่หก การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) หมายถึง การขยายขอบเขตความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด ให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

  • ประการที่เจ็ด การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่เดิม ไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ ได้อย่างเหมาะสม โดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้



  • ประการที่แปด การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

  • ประการที่เก้า การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิด หรือองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง



  • ประการที่สิบ การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคต อย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

*สรุป :: 
         ปัญหาเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทุกที่และทุกคน ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีที่จะกำจัดทุกให้หมดไป หรือทำให้ทุกน้อยลง เมื่อเรากำจัดทุกได้แล้ว ผลดีของการกำจัดทุกมีมากมาย ทั้งต่อตัวเอง สังคม และต่อประเทศชาติ มีวิธีแก้ปัญหามีดังนี้
1. กำหนดปัญหา
2. ตั้งสมมติฐาน
3. วางแผนการแก้ปัญหา
4. เก็บรวบรวมข้อมูล
5. วิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน
6. สรุปผล


      ถ้าคนในสังคมของเรารู้จักวธีคิดทั้ง 10 มิติ จะช่วยให้เราเป็นผู้ชนะในศตวรรษที่ 21 ได้ เพราะจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จ และยากที่จะผิดพลาดในการติดสินใจ ทำสิ่งใดๆ เราจะไม่หลงเชื่อสิ่งใดอย่างง่ายๆ แต่จะคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบ ก่อนตัดสินใจ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ และสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ ทำให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ อีกทั้งสามารถเตรียมความพร้อม ให้กับอนาคต ที่จะมาถึง ได้อย่างรอบคอบ

         "คิดดี ใจก็มีสุข คิดไม่ดี ใจก็เป็นทุกข์" สุขหรือทุกข์มันขึ้นอยู่กับความคิด



         



ขอขอบคุณที่มา :: 
    ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนาKriengsak@bangkokcity.com ,http://advisor.anamai.moph.go.th/download/think02.html
ค้นเมื่อ 23/11/12 เวลา 10.50 น.