จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ทำงานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์


การทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1. รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลไปประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เป็นต้น

2. ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้วจะทำการประมวลผลตามคำสั่ง หรือโปรแกรมที่กำหนด อุปกรณ์ทีทำหน้าที่ประมวลไผลได้แก่ CPU

3. แสดงผลข้อมูล (Output) เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลคือ จอภาพและเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

4. จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี แฟลชไดรว์



แสดงขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์



เปรียบเทียบการทำงานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์


กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีหลักเหมือนกับกระบวนการทำงานของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย 4 หน่วยคือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล และหน่วยแสดงผล




เปรียบเทียบการทำงานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์






ขอขอบคุณที่มา :: หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์.(2555).ค้นข้อมูล 29 มกราคม 2556

,จาก http://www.oknation.net/blog/patumnafang/2012/08/28/entry-3

วันเด็กแห่งชาติ '56 @Education KKU




รักษาวินัย
ใฝ่เรียนรู้
เพิ่มพูนปัญญา
นำพาไทยสู่อาเซียน


วันเด็กแห่งชาติ เสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม

   ซึ่งในปี 2556 ตรงกับวันที่ 12 มกราคม ทางคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นของเรา ได้มีการจัดงานวันเด็กขึ้น โดยทางสาขาวิชาต่างๆ ก็พากันร่วมแรงร่วมใจจัดงานขึ้น เพื่อให้เด็กๆ น้องๆ โรงเรียนต่างๆ มาเข้าร่วมงานวันเด็กในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสานสัมพันธ์ไมตรี ระหว่างครอบครัว เพื่อนๆ พี่ๆ พร้อมทั้งยังได้รับความสนุก และ สาระความรู้ มีของรางวันแจกภายในงาน ซึ่งทางสาขาคอมพิวเตอร์ก็ได้จัดงานเช่นกัน ภายในซุ้มมี กิจกรรมให้น้องๆเล่น เกมส์ มีระบายสีปูนปลาสเตอร์ มีบริการถ่ายรูปฟรี รวมทั้งยังมีห้องคาราโอเกะให้น้องๆ ได้ร้องเพลงอย่างสนุกสนาน และเรามีภาพบางส่วนในงานมาฝากด้านล่างจ้าาา  เป็นภาพของนักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ที่ได้ร่วมจัดกิจกรรมในงานวันเด็กครั้งนี้ เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้นค่ะ
^_^








      กิจกรรมในครั้งนี้ผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ก็เ็ป็นเพราะความสามารถและความสามัคคีของพวกเราเหล่านักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ที่ร่วมช่วยกันจนงานครั้งนี้ได้ประสบผลสำเร็จดังที่คาดหวังไว้


เตือนภัย เรื่องใกล้ตัว ^________^


หลีกเลี่่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ขณะขับรถ !!!



     



กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงขณะขับรถ

      อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 (อนุชา โมกขะเวส,ม.ป.ป.)เตือนว่า จากการตรวจสอบสถิติอุบัติเหตุทางถนน พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้อุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ ได้แก่ การโทรศัพท์ขณะขับรถ ขับไปกินไป ดูโทรทัศน์ แต่งหน้า จึงขอเตือนให้เลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าว

  • การโทรศัพท์ขณะขับรถ เพิ่มความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุมากกว่าปกติ 2-4 เท่า เพราะทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิ ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง การตัดสินใจเหยียบเบรก การบังคับพวงมาลัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินช้าลงกว่าปกติ 0.5 วินาที และส่งผลต่อการมองเห็นป้ายสัญลักษณ์ ป้ายจราจร ป้ายบอกทาง แม้จะเห็นป้ายแต่จดจำรายละเอียดไม่ได้ หากจำเป็นต้องพูดโทรศัพท์ควรใช้อุปกรณ์เสริม ได้แก่ แฮนด์ฟรี บลูทูธ ถ้าเดินทางตามลำพังและไม่มีอุปกรณ์เสริมควรจอดข้าง ทาง หรือบริเวณที่ปลอดภัยเพื่อรับโทรศัพท์จะปลอดภัยกว่า 

  • ขับไปกินไป จากสภาพการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพฯ ทำให้คนขับรถหรือผู้โดยสาร รับประทานอาหารบนรถเป็นภาพชินตา การขับไปกินไปเป็นพฤติกรรมเสี่ยง เพราะเหลือมือจับพวงมาลัยเพียงข้างเดียว ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินจะไม่สามารถหักหลบหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทัน เพราะปฏิกิริยาตอบสนองในการขับขี่ช้าลงกว่าปกติ 2 เท่า หากกินอาหารของทอดจะทำให้มือเต็มไปด้วยคราบน้ำมัน หากไปจับพวงมาลัยจะทำให้ลื่นกว่าปกติ ส่งผลให้การควบคุมพวงมาลัยลดลง 

  • การดูโทรทัศน์ขณะขับรถ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากความสว่างของจอภาพ เสียง รวมถึงเนื้อหาของภาพที่เคลื่อนไหว ทำให้สมาธิในการควบคุมรถลดลง และความสนใจต่อเหตุการณ์รอบตัวลดลง แม้คนขับจะไม่ได้ดูโทรทัศน์ แต่เสียงที่ได้ยินก็รบกวนสมาธิ และยังกระตุ้นให้ขับเร็วกว่าปกติอีกด้วย 

  • การแต่งหน้าขณะขับรถ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยมาก การแต่งหน้า ทาปากระหว่างรถติดสัญญาณไฟ หรือเคลื่อน ตัวช้าๆ จะทำให้สมาธิของผู้ขับขี่จดจ่ออยู่กับกิจกรรมที่ทำ จนลืมไปว่ากำลังขับรถ



      เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือรถคันหน้าเบรกกะทันหันจะทำให้ชนท้ายได้ 
 ดังนั้นเราควรมีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่วอกแวกขณะขับรถอยู่เพราะเวลาขับรถเราต้องใช้สมาธิในการขับขี่ เพื่อความปลอดภัยของเราและคนขับคนอื่นๆ





ขอขอบคุณที่มา ::

เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ขณะขับรถ.(ม.ป.ป.).ค้นข้อมูล 24 มกราคม 2556,จาก http://icare.kapook.com/caution.php?ac=detail&s_id=20&id=802

ปัญญาประดิษฐ์น่ารู้ ^o^




มารู้จักกับ AI กันนะคะ ^o^

AI : Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดย คำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

1. Acting Humanly การกระทำคล้ายมนุษย์ เช่น
  -สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้
      - มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)
      - หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
      - machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้


2. Thinking Humanly : การคิดคล้ายมนุษย์ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร



3. Thinking rationally : คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ


4. Acting rationally : กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น agent (agent เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลคือ agent ที่กระทำการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น agent ในระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้จึงจะเรียกได้ว่า agent กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น agent ในเกมหมากรุกมีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น


  • ตารางเปรียบเทียบ ปัญญาของมนุษย์และ AI



      




ขอขอบคุณที่มา :: ธวัช ศิระสุข.(2553).ปัญญาประดิษฐุ์.ค้นข้อมูล 30 มกราคม 2556,จาก http://songhenghuat.blog.com/2010/07/07/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-artificial-intelligence-ai/

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

10 วลีทองของคนคิดบวก ( พลัส + PLUS )

คิดบวกอะไรอะไรก็ดูดี >.<




1. I'm wrong - ฉันผิดเอง 
2. I'm sorry - ฉันขอโทษ 

3. You can do it - คุณทำได้!!! 
4. I believe in you - ฉันเชื่อมั่นในตัวคุณ 

5. I'm proud of you - ฉันภูมิใจในตัวคุณ
6. Thank you - ขอบคุณ 

7. I need you - ฉันต้องการคุณ
8. I trust you - ฉันเชื่อใจคุณ 

9. I respect you - ฉันนับถือคุณ
10. I love you - ฉันรักคุณ


แด่คำพูดดี ๆ ที่สะท้อนมาจากความคิดอันงดงาม
แด่ความคิดดี ๆ ที่อยากให้ผู้อื่นรอบ ๆ มีความสุข




     ถ้าหากคิดในแง่ลบก็จะส่งผลให้คนคิดเป็นทุกข์มากกว่าเป็นสุข แต่ถ้า...........!! ^_____________^
     เรามีความคิดในแง่บวกมันก็จะช่วยให้สมองแจ่มใส ไม่เคร่งเครียด มองชีวิตและโลกอย่างมีความหวัง มีกำลังใจ และเป็นสุขใจ





ขอขอบคุณที่มา :: 10 วลีทองของคนคิดบวก.(2553).ค้นข้อมูล 24 มกราคม 2556 ,จาก http://blog.eduzones.com/wanwan/30842

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การคิด ช่วยคุณได้ ^___________^





          ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ "ความรู้ คือ อำนาจ" อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้เกิดอำนาจได้นั้น จำเป็นต้องมีความสามารถ ในการใช้ปรับข้อมูลข่าวสาร ให้อยู่ในรูปขององค์ความรู้ และนำมาใช้ประกอบการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผู้ที่จะสามารถเป็นเช่นนั้นได้ จะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่งในชีวิตนั่นคือ "คิดเป็น"


แผนภูมิ    แสดงกระบวนการ  "คิดเป็น"

การคิด (Thinking) คือ การที่คนคนหนึ่งพยายามใช้พลังทางสมองของตน ในการนำเอาข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ มาจัดวางอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้มา ซึ่งผลลัพธ์ เช่น การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด เป็นต้น

          การคิด เหมือนการเรียงหินที่กระจัดกระจาย ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยนำหินแต่ละก้อน มาประกอบกันในแต่ละที่ อย่างเหมาะสม "การเรียงหิน" เปรียบได้กับ "การจัดระเบียบข้อมูล" ที่เราได้ใช้การคิดไตร่ตรองอย่าง ละเอียดรอบคอบ ลึกซึ้ง และมีระบบระเบียบ คนที่ "คิดเป็น" จะสามารถจัดข้อมูลให้เรียงกัน อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ได้ความคิดที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับหิน ที่ได้รับการจัดวางเรียงอย่างเหมาะสม ย่อมกลายเป็นอาคารที่งดงามได้ในที่สุด ในขณะเดียวกัน คนที่ "คิดไม่เป็น" ก็เหมือนกันคนที่โยนก้อนหินมากองๆ รวมกัน หรือจัดอย่างสะเปะสะปะ ไม่รู้ว่า ก้อนใดควรอยู่ที่ใด ความคิดที่ออกมา จึงไม่ได้เป็นความคิดที่มีความชัดเจน และเป็นระบบระเบียบ

        การที่คนเราจะสามารถคิดเป็นนั้น จำเป็นต้องได้รับการเปิดทาง และแนะแนวให้มีความสามารถในการคิด ครบ 10 มิติ นั่นคือ


  • ประการแรก การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking) หมายถึง ความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆ แต่ตั้งคำถามท้าทาย หรือโต้แย้งสมมติฐาน และข้อสมมติที่อยู่เบื้องหลัง และพยายามเปิดแนวทางความคิด ออกลู่ทางต่างๆ ที่แตกต่างจากข้อเสนอนั้น เพื่อให้สามารถได้คำตอบที่สมเหตุสมผล มากกว่าข้อเสนอเดิม



  • ประการที่สอง การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) หมายถึง การจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น



  • ประการที่สาม การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) หมายถึง ความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

  • ประการที่สี่ การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) หมายถึง การพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และ/หรือ ความแตกต่าง ระหว่างสิ่งนั้น กับสิ่งอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการคิด การแก้ปัญหา หรือการหาทางเลือดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง



  • ประการที่ห้า การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) หมายถึง ความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมด ที่มีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด ได้อย่างไม่ขัดแย้ง แล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอด หรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น



  • ประการที่หก การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) หมายถึง การขยายขอบเขตความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด ให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

  • ประการที่เจ็ด การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่เดิม ไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ ได้อย่างเหมาะสม โดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้



  • ประการที่แปด การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

  • ประการที่เก้า การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิด หรือองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง



  • ประการที่สิบ การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคต อย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

*สรุป :: 
         ปัญหาเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทุกที่และทุกคน ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีที่จะกำจัดทุกให้หมดไป หรือทำให้ทุกน้อยลง เมื่อเรากำจัดทุกได้แล้ว ผลดีของการกำจัดทุกมีมากมาย ทั้งต่อตัวเอง สังคม และต่อประเทศชาติ มีวิธีแก้ปัญหามีดังนี้
1. กำหนดปัญหา
2. ตั้งสมมติฐาน
3. วางแผนการแก้ปัญหา
4. เก็บรวบรวมข้อมูล
5. วิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน
6. สรุปผล


      ถ้าคนในสังคมของเรารู้จักวธีคิดทั้ง 10 มิติ จะช่วยให้เราเป็นผู้ชนะในศตวรรษที่ 21 ได้ เพราะจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จ และยากที่จะผิดพลาดในการติดสินใจ ทำสิ่งใดๆ เราจะไม่หลงเชื่อสิ่งใดอย่างง่ายๆ แต่จะคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบ ก่อนตัดสินใจ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ และสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ ทำให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ อีกทั้งสามารถเตรียมความพร้อม ให้กับอนาคต ที่จะมาถึง ได้อย่างรอบคอบ

         "คิดดี ใจก็มีสุข คิดไม่ดี ใจก็เป็นทุกข์" สุขหรือทุกข์มันขึ้นอยู่กับความคิด



         



ขอขอบคุณที่มา :: 
    ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์  ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนาKriengsak@bangkokcity.com ,http://advisor.anamai.moph.go.th/download/think02.html
ค้นเมื่อ 23/11/12 เวลา 10.50 น.